รักษาออฟฟิศซินโดรม

5 ท่ารักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการกายภาพบำบัดที่ทำเองได้

0 Comments

รักษาออฟฟิศซินโดรม

                หลายคนมักคิดว่าการรักษาออฟฟิศซินโดรมนั้นเป็นสิ่งที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน แต่ความจริงแล้วไม่ได้ยากอย่างที่คิดเพราะสามารถรักษาโดยการทำกายภาพบำบัดที่ทำเองได้ที่บ้านหรือนั่งทำบนเก้าอี้ทำงานเพียงวันละไม่กี่นาทีก็ช่วยให้อาการปวดต่าง ๆ ดีขึ้นแล้ว สำหรับใครที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ ทุกวันแล้วเริ่มมีอาการปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ เรามีท่าลดปวดออฟฟิศซินโดรมจุดต่าง ๆ มาฝากกัน

5 ท่ากายภาพรักษาออฟฟิศซินโดรมลดปวดคอ บ่า ไหล่

  1. ท่าบริหารคอ สามารถรักษาออฟฟิศซินโดรมได้ง่าย ๆ บนเก้าอี้ทำงานในท่านั่งหลังตรงแล้วปล่อยมือทั้ง 2 ข้างทิ้งลงข้างลำตัว จากนั้นหันคอไปทางด้านซ้ายจนสุด จะรู้สึกตึงที่บริเวณคอและบ่า ทำค้างไว้ข้างละ 10 วินาที ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง 3 เซต
  2. ท่าบริหารต้นคอ บ่า นั่งหลังตรงบนเก้าอี้และปล่อยมือทั้ง 2 ข้างลงข้างลำตัวเช่นกัน เงยหน้าขึ้นให้สุด ค้างไว้ 10 วินาทีแล้วกลับสู่หน้าตรง จะรู้สึกตึงที่บริเวณคอและบ่า จากนั้นให้ก้มศีรษะลงให้สุด ค้างไว้ 10 วินาที จะรู้สึกตึงที่บริเวณบ่าและหลังช่วงบน ทำสลับกัน 3 เซต
  3. ท่าบริหารต้นคอ บ่า ไหล่ นั่งหลังตรง ยกมือข้างซ้ายข้ามศีรษะไปจับหูด้านขวาแล้วเอนศีรษะมาทางด้านซ้ายจนเริ่มรู้สึกตึงที่ต้นคอและบ่า ทำค้างไว้ 10 วินาที สลับกันทั้ง 2 ข้าง วันละ 3 เซต จะช่วยลดอาการปวดที่บริเวณคอ บ่า และไหล่
  4. ท่าบริหารบ่า ไหล่ สะบัก นั่งหลังตรง เอามือทั้ง 2 ข้างสานกันไว้ที่ต้นคอแล้วก้มหน้าลงให้สุด โดยให้ข้อศอกทั้ง 2 ข้างแนบชิดศีรษะ จะรู้สึกตึงที่บริเวณต้นคอ บ่า และไหล่ ท่านี้จะช่วยลดอาการปวดได้ดี ทำค้างไว้ 10 วินาที สลับกันทั้ง 2 ข้าง วันละ 3 เซต แต่หากใครที่มีอาการปวดบ่าและไหล่มาก ควรค่อย ๆ ยกแขนขึ้นมาในระดับที่ทำไหว แล้วค่อย ๆ ยกระดับให้สูงขึ้น แต่หากทำแล้วเจ็บไม่ควรทำ
  5. ท่าบริหารไหล่ หลัง สะบัก นั่งหลังตรง ทิ้งแขนลงข้างลำตัวแล้วหมุนหัวไหล่ไปทางด้านหลัง 10 ครั้ง จากนั้นนำมือทั้ง 2 ข้างผสานกันไว้ที่กลางหลังหงายมือออกแล้วโยกไหล่และแขนกลับไปด้านหลัง จะรู้ตึงที่สะบักและหัวไหล่ ทำ 10 ครั้ง สลับกัน 2 ท่า ท่าละ 3 เซต

                และนี่คือ 5 ท่ารักษาออฟฟิศซินโดรมที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน หรือใครจะนั่งทำบนเก้าอี้ทำงานก็ได้เช่นกัน เป็นท่าง่าย ๆ ที่ช่วยลดอาการปวดบริเวณคอ บ่า ไหล และสะบักได้ดี ควรทำเป็นประจำทุกวันเพื่อให้เส้นไม่ยึดและกล้ามเนื้อคลายตัว แต่หากใครที่ปวดจนไม่สามารถทำเองได้ควรให้นักกายภาพบำบัดช่วยดูแล เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น

Related Posts

สถานดูแลผู้สูงอายุควรเป็นอย่างไรให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข

0 Comments

ผู้สูงอายุเป็นวัยที่สมควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต สถานดูแลผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพ สถานดูแลผู้สูงอายุที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ มีทีมบุคลากรที่มีคุณภาพและใส่ใจ ทีมบุคลากรควรมีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุเป็นอย่างดี อีกทั้งยังควรมีจิตใจเมตตาและใส่ใจผู้สูงอายุอย่างแท้จริง มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต สถานที่ควรสะอาด ปลอดภัย…

วิธีการช่วยเหลือคนหูหนวก ในยุคสมัยปัจจุบัน

0 Comments

อาการหูหนวก เป็นความพิการรูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ที่มีอาการหูหนวกสูญเสียการได้ยินและไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่เทียบเท่ากับคนทั่วไป สาเหตุของอาการหูหนวก สาเหตุของอาการหูหนวกสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่  พันธุกรรม  สาเหตุทางพันธุกรรมของการหูหนวกนั้นสืบทอดมาตั้งแต่แรกเกิดและอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไป…

ยาบำรุงเลือด

ยาบำรุงเลือดยี่ห้อไหนดี

0 Comments

การบำรุงเลือดเป็นสิ่งสำคัญที่หลายคนมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง เพราะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเลือดสูงกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ผู้หญิงยังมีการสูญเสียเลือดระหว่างรอบเดือนมากกว่าผู้ชาย ดังนั้นการบำรุงเลือดจึงช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับเลือดได้ เพราะการบำรุงเลือดจะช่วยปรับสมดุลธาตุอาหารและวิตามินในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงและป้องกันการเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ การบำรุงเลือดยังช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ช่วยให้ผิวพรรณดูสดใสและเต็มอิ่มด้วยความชุ่มชื่นขึ้นได้ด้วย…